รู้ทัน! “ภาษีนำเข้า” นำเข้าสินค้าอย่างถูกต้อง!! สายช้อป สายหิ้วต้องรู้!! หลายคนที่เดินทางไปญี่ปุ่นก็อดใจไม่ได้ที่ต้องหิ้วสินค้าแบรนด์เนม ของใช้ต่าง ๆ กับประเทศ ทั้งของตัวเอง ทั้งของฝาก หรือบางคนอาจรับหิ้วอีก แต่รู้มั้ยสินค้าเหล่านี้หากนำเข้ามาในจำนวนมาก ๆ ก็เสียภาษีด้วยนะ ชะนั่นเราควรศึกษา เรียนรู้เรื่องภาษีเอาไว้ อุ่นใจกว่า
รู้ทัน “ภาษีนำเข้า” ภาษีนำเข้า คือ ภาษีที่รัฐเรียกเก็บจากผู้นำสินค้าเข้ามาในประเทศไทยโดยผ่านพิธีการศุลกากร ไม่ว่าจะนำเข้ามาทางน้ำ ทางบก หรือทางอากาศก็ตาม เพื่อนำไปพัฒนาประเทศ
องค์ปะกอบของภาษีนำเข้า
1.ภาษีนำเข้า หรือภาษีนำเข้าส่งออก กรมศุลกากรมีหน้าที่จัดเก็บ
2.ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรมศุลกากรจะต้องเก็บและนำส่งให้กับกรมสรรพากร โดยรัฐจะกำหนดนโยบายว่าจะเก็บภาษีนำเข้าเท่าไร และบวก VAT 7% เข้าไปด้วย
1.ภาษีนำเข้า หรือภาษีนำเข้าส่งออก กรมศุลกากรมีหน้าที่จัดเก็บ
2.ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรมศุลกากรจะต้องเก็บและนำส่งให้กับกรมสรรพากร โดยรัฐจะกำหนดนโยบายว่าจะเก็บภาษีนำเข้าเท่าไร และบวก VAT 7% เข้าไปด้วย
การนำเข้าโดยหิ้วสินค้าเข้าไทย โดยอาศัยเป็นของติดตัวเมื่อเข้ามาในประเทศไทย เมื่อเดินทางกลับเข้าประเทศไทย หลังจากตรวจพาสปอร์ตและรับกระเป๋าเดินทางแล้ว หาก ไม่มีสินค้าต้องสำแดง ให้เข้าช่องตรวจสีเขียว (Nothing to Declare) แต่ถ้า มีสินค้าต้องสำแดง จะต้องเดินเข้าช่องตรวจสีแดง (Goods to Declare) เพื่อเสียภาษีอากร
ตัวอย่างการคำนวณภาษีนำเข้า
สามารถแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
1.อากรขาเข้า = ราคาสินค้า x อัตราภาษีขาเข้า
2.ภาษีมูลค่าเพิ่ม = (ราคาสินค้า + อากรขาเข้า) x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
3.ภาษีทั้งหมดที่ต้องชำระ = อากรขาเข้า + ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตัวอย่างเช่น กระเป๋าชาเนล ราคา 30,000 บาท เป็นของใช้ส่วนตัวแต่มีมูลค่าเกิน 20,000 บาท จึงต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีนำเข้า
รายละเอียดภาษียังคงมีข้อมูลอีกหลายขั้นตอน วันนี้เป็นการแสดงข้อมูลเพียงเบื้องต้นเท่านั้น ใครที่จะหิ้วสินค้า หรือช้อปกลับบ้านแบบจัดเต็มต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดอีกครั้งนะคะ เพราะการนำเข้าสินค้าส่วนตัว การนำเข้าสินค้าเพื่อจำหน่ายก็มีข้อจำกัดแตกต่างกันออกไปอีกค่ะ
สามารถแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
1.อากรขาเข้า = ราคาสินค้า x อัตราภาษีขาเข้า
2.ภาษีมูลค่าเพิ่ม = (ราคาสินค้า + อากรขาเข้า) x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
3.ภาษีทั้งหมดที่ต้องชำระ = อากรขาเข้า + ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตัวอย่างเช่น กระเป๋าชาเนล ราคา 30,000 บาท เป็นของใช้ส่วนตัวแต่มีมูลค่าเกิน 20,000 บาท จึงต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีนำเข้า
รายละเอียดภาษียังคงมีข้อมูลอีกหลายขั้นตอน วันนี้เป็นการแสดงข้อมูลเพียงเบื้องต้นเท่านั้น ใครที่จะหิ้วสินค้า หรือช้อปกลับบ้านแบบจัดเต็มต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดอีกครั้งนะคะ เพราะการนำเข้าสินค้าส่วนตัว การนำเข้าสินค้าเพื่อจำหน่ายก็มีข้อจำกัดแตกต่างกันออกไปอีกค่ะ
ใส่ความเห็น